วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

จอภาพ (Monitor)

จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต
การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

หน้าจอคอมพิวเตอร์มีอยู่ 2 ประเภทคือ






1.จอ CRT (Cathode Ray Tube Monitor) คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง


2.จอLCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือDual-Scan Twisted Nematic (DSTN)Thin Flim Transistor (TFT)
จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN

เคส(case)




เคส คอมพิวเตอร์ – computer case
เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ


ชนิดของ
เคส คอมพิวเตอร์

ชนิดของ
เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
• ประเภทวางยืน หรือ Tower
• ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน
ประเภท วางยืน หรือ ทาวเวอร์ – Tower
ประเภทนี้ยังแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก คือ


• มินิทาวเวอร์ – Mini Tower


ข้อดีของประเภทนี้ คือ มีขนาดกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือจะ เพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะพื้นที่ภายในแคบ อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว หรือเพิ่มการ์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม
เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มักจะได้รับความนิยมในสำนักงาน เพราะประหยัดพื้นที่ ขณะเดียวกัน งานในสำนักงานก็มักเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ขีดความสามารถของเครื่อง คอมพิวเตอร์ สูงอยู่แล้ว

• มิดทาวเวอร์ – Mid Tower


เคส รุ่นนี้ เป็น เคส กลาง ซึ่งจะมีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่เกินไป ยังเหมาะสมที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ รุ่นนี้มักเป็นที่นิยมของผู้ประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง หรือจ้างให้ร้านประกอบให้ แม้กระทั่งในสำนักงานก็ยังนิยมใช้รุ่นนี้เหมือนกัน

• ฟูล ทาวเวอร์ – Full Tower


เป็น
เคสคอมพิวเตอร์ รุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย ข้อเสียของมันคือมีขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะวางบนโต๊ะ ผู้ใช้จึงมักหาที่วางใต้โต๊ะ หรือข้างโต๊ะ เคสคอมพิวเตอร์ ขนาด นี้ยังเอาไปทำเป็นเครื่อง เซอร์เวอร์ (Server) สำหรับบริการเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่น ๆ ด้วย

ประเภทเดสก์ทอป – Desktop


วัตถุประสงค์ของ
เคส ประเภท นี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ โดยเอาจอภาพวางซ้อนด้านบน ข้อเสียของมันคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกแทบไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม เคสประเภทนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเคาน์เตอร์ หรืออยู่บนโต๊ะขนาดเล็ก

สลิม เดสก์ทอป – Slim Desktop


เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มักใช้ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก การออกแบบระบบ คอมพิวเตอร์ ก็ให้ประมวลผลที่เครื่อง เซอร์เวอร์ หรือ เมนเฟรม การเก็บข้อมูลก็เก็บที่ศูนย์ข้อมูล แทนที่จะเก็บที่เครื่องลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย และสามารถประหยัดการลงทุนกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ได้มาก เมนบอร์ดและซีพียู ก็อาจใช้ประเภทขนาดเล็ก กินไฟน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจรวมเป็นชิ้นเดียว บนเมนบอร์ดเลย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครื่อง workstation มากกว่าที่จะเรียก PC หรือ Personal Computer

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)




แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX


ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย


ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ


AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น
ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จัมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)

ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้


ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX


ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)


ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น


หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย


พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง

แป้นพิมพ์ (Keyboard)





แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับเข้าในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น


การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์


เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง


ในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นพิมพ์ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า และเพิ่มจำนวนแป้นอีก รวมเป็น 101 แป้น


หน้าที่ของแป้นพิมพ์ที่ควรรู้จัก


Spacebar ใช้ในการเว้นวรรค
BackSpace ลบตัวอักษรที่ติดกับเคอร์เซอร์ทางด้านซ้าย

Delete ลบตัวอักษรที่ติดกับเคอร์เซอร์ทางด้านขวา
Enter รับคำสั่งไปปฏิบัติ หรือขึ้นบรรทัดใหม่
Insert พิมพ์แทรก
Home ไปจุดเริ่มต้น
Page Up เลื่อนขึ้นไปหนึ่งจอภาพ
Page Down เลื่อนลงไปหนึ่งจอภาพ
End ที่จุดสุดท้ายที่ใช้งาน
Alt กดคู่กับแป้นอื่นเพื่อเปลี่ยนการทำงาน
Ctrl กดคู่กับแป้นอื่นเพื่อใช้คำสั่งพิเศษ
Shift ยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรตัวบน
Scroll Lock กดล็อคไม่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่
Print Screen พิมพ์จากจอภาพสู่เครื่องพิมพ์ ต้องกดคู่กับแป้น Shift
Esc ยกเลิกการทำงาน
Tab เลื่อนไประยะที่กั้นไว้ 5 ช่องตัวอักษร
CapsLock ตัวพิมพ์ใหญ่ภาษาอังกฤษ

เมาส์ (Mouse)




เมาส์ (อังกฤษ: mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน
การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้า
จอคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญานวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า Wireless mouse
เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูเมาส์และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู



การใช้งานปุ่มโดยทั่วไป


งานปุ่มโดยทั่วไปการอินพุตผ่านเมาส์นั้นมีหลายรูปแบบนอกเหนือไปจากการเลื่อนเมาส์เพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ เช่น การคลิก (การกดปุ่ม คำว่าคลิกนั้นมีที่มาจากเสียงคลิกเวลาเรากดปุ่มเมาส์นั่นเอง เสียงนี้เกิดขึ้นจาก micro switch (cherry switch) และใช้แถบโลหะที่แข็งแต่ยืดหยุ่นเป็นตัวกระตุ้นสวิทช์ เมื่อเรากดปุ่ม แถบโลหะนี้ก็จะงอ และกระตุ้นให้สวิทช์ทำงานพร้อมทั้งเกิดเสียงคลิก และช่วยให้ภายในไม่มีภาวะสุญญากาศเกิดขึ้น นอกจากนี้นักวิจัยพบว่าผู้ใช้จะตอบสนองกับเสียงคลิกหลังจากกด มากกว่าความรู้สึกที่นิ้วกดลงไปบนปุ่ม


Single clicking


เป็นการอินพุตที่ง่ายที่สุด โดยหมายรวมทั้งการกดปุ่มบนเมาส์ชนิดปุ่มเดียวและชนิดหลายปุ่ม โดยหากเป็นเมาส์ชนิดหลายปุ่ม จะเรียกการคลิกนี้ตามตำแหน่งของปุ่ม เช่น คลิกซ้าย, คลิกขวา


Double-click


ดับเบิ้ลคลิกคือการกดปุ่ม 2 ครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว ใน Macintosh Finder การคลิกจะเป็นการเลือกไฟล์ ส่วนการดับเบิ้ลคลิกนั้นจะเป็นการเปิดไฟล์ อย่างไรก็ดีการดับเบิ้ลคลิกนี้จะยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เมาส์แบบหลายปุ่มนั้นสามารถที่จะเซ็ทให้ปุ่มใดปุ่มนึงทำงานเหมือนการดับเบิ้ลคลิกด้วยการคลิกครั้งเดียวได้ และ OS ในปัจจุบันสามารถที่จะกำหนดช่วงสูงสุดที่จะคลิกปุ่ม 2 ครั้งให้เป็นดับเบิ้ลคลิกได้


Triple-click


ทริปเปิ้ลคลิกเป็นการกดปุ่ม 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ใช้มากที่สุดใน word processors และใน web browsers เพื่อที่จะเลือกข้อความทั้งย่อหน้า


Chords


คอร์ดส์คือการคลิกปุ่มตั้งแต่ 2 ปุ่มพร้อมกัน ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้งานนัก ใน X Windows system การกดปุ่มซ้ายและขวาพร้อมกันจะมีผลเหมือนกับการกดปุ่มกลาง


Click-and-drag


คือการกดปุ่มบน object ค้างไว้แล้วลากไปที่ที่ต้องการ


Mouse gestures


mouse gesture เป็นวิธีการผสมผสานการเลื่อนและการคลิกเมาส์ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่จะใช้ได้จะต้องจดจำคำสั่งพิเศษต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่นในโปรแกรมวาดภาพ การเลื่อนเมาส์ในแนวแกน X อย่างรวดเร็วบนรูปร่างใดๆ จะเป็นการลบรูปร่างนั้น


Tactile mice


ในปี 2000 Logitech ได้เปิดตัว tactile mouse ซึ่งมีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ทำให้เมาส์สั่นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส เช่นการสั่นเมื่อเคอร์เซอร์อยู่ที่ขอบของ window เมาส์แบบแปลกๆ อีกชนิดหนึ่งสามารถถือไว้ในมือโดยไม่ต้องวางบนพื้นผิว โดยสามารถจับการเคลื่อนไหวได้ถึง 6 มิติ (3 มิติ + การหมุนของ 3 แกน) ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายสำหรับการนำเสนอทางธุรกิจ เมื่อผู้พูดจะต้องยืนหรือเดินไปมา อย่างไรก็ดี เมาส์ชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้าง


ความเร็วของเมาส์


ความเร็วของเมาส์มีหน่วยเป็น DPI (Dots Per Inch) ซึ่งคือจำนวนพิกเซลที่เคอร์เซอร์จะเลื่อนได้เมื่อเลื่อนเมาส์ไป 1 นิ้ว Mouse acceleration/deceleration เป็นทริกของซอฟต์แวร์ที่สามารถทำให้เมาส์เลื่อนช้ากว่าหรือเร็วกว่าความเร็วปกติของมันได้ แต่มีอีกหน่วยนึงที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมคือหน่วย Mickey เพราะว่าค่า Mickey เกิดจากการนับ dot ที่เคอร์เซอร์เคลื่อนไปได้โดยคิดรวมถึง Mouse acceleration/deceleration ด้วย ทำให้ค่า Mickey สำหรับการใช้งานแต่ละครั้งอาจจะไม่เท่ากัน จึงไม่ได้รับความนิยม

เมนบอร์ด (Mainboard)




เมนบอร์ด (mainboard) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆ

หน้าที่ของเมนบอร์ด

หากเคสเป็นเสมือนบ้าน เมนบอร์ดก็จะเป็นเสมือนพื้นบ้าน ไว้ติดตั้งอุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Graphic Card, Sound Card รวมไปถึง อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ อย่างฮาร์ดดิสก์, CD ROM ก็ต้องทำการเชื่อมข้อมูล เข้ามายังเมนบอร์ดผ่าน IDE Slot เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการการทำงานของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส อีกด้วย

ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู

ชิปเซ็ต (Chip set)

ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ

ระบบบัสและสล็อต

Bios

สัญญาณนาฬิกาของระบบ

ถ่านหรือแบตเตอรี่

ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ

ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง

จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด

ขั้วต่อ IDE ขั้วต่อ Floppy disk drive

พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน

พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์

พอร์ต USB



CPU


ซีพียู


ซีพียูมีหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่าง ๆ ที่รับมาจากอุปกรณ์เช่น เมาส์และคีย์บอร์ด เมื่อประมวลผลแล้ว จะส่งผลไปให้กับอุปกรณ์ Output เช่นจอภาพ ผ่านทางการ์ดแสดงผล เสียงผ่านการ์ดเสียงพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์ ผ่านพอร์ตParallalซีพียูที่นิยมใช้กันในปัจจุบันเป็นของ2คู่แข่งแห่งค่ายIntelคือCeleron,Pentium III และ Pentium4 ส่วนค่าย AMD มีซีพียูที่มาแรงคือDuron และ Thunderbird


ซีพียู CPU คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ซีพียูเป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ใจคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์โดยจะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียูจะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น


ตระกูลของซีพียู


ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายมีอยู่ 3 ตระกูล คือ ๑.Intel 2.AMD 3.Cyrix


องค์ประกอบของซีพ


ลักษณะของตัวซีพียู จะหมายถึง รูปร่างหรือแบบของซีพียูที่ถูกผลิตออกมา ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. แบบการ์ดหรือตลับ มีลักษณะเป็นแผงหรือตลับสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านล่างมีหน้าสัมผัสสำหรับเสียบลงบนช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า สล็อต (Slot)


2. แบบชิป PGA มีลักษณะเป็นแผ่นชิปบาง ๆ มักเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหลังจะมีขาเสียบ โดยรอบสำหรับเสียบลงช่องต่อบนเมนบอร์ด ซึ่งเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket)


ลักษณะการเชื่อมต่อของซีพียูกับเมนบอร์ด


ลักษณะของซีพียูนี้จะมีผลโดยตรงกับการเลือกเมนบอร์ดโดยทั้งซีพียูและเมนบอร์ดจะต้องมีลักษณะการต่อเชื่อม ที่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ลักษณะดังกล่าวมาแล้วคือ

1. แบบสล็อต(Slot)สำหรับเสียบซีพียูแบบการ์ดหรือตลับ ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Slot 1 ที่ใช้กับซีพียูของค่ายอินเทลและSlotAที่ใช้กับซีพียูของค่ายเอเอ็มดีใช้กับ Pentium II, III, และ Celeron ของอินเทลใช้กับ Athlon ของเอเอ็มดี

2. แบบซ็อกเก็ต (Socket)สำหรับเสียบซีพียูแบบชิป PGA ซึ่งปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ เช่น Socket 7, Socket 370 สำหรับซีพียูของค่ายอินเทลและ Socket A สำหรับซีพียูของค่าย AMD